วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

วัดแก้วมงคล ปัญหาธรรมศึกษา

.  สมถกัมมัฏฐาน ตรงกับข้อใด ?
                ก. อุบายสงบกาย ข. อุบายสงบวาจา
                ค. อุบายสงบใจ    ง. อุบายเรืองปัญญา
๒.  ผู้หมั่นเจริญกัมมัฏฐาน ย่อมได้รับประโยชน์โดยตรงด้านใด
                . จิตใจสงบ                         . มีสุขภาพดี
                . ความจำดี                          . ขยันทำงาน
๓.  ข้อใด ไม่จัดเป็นวัตถุกาม ?
                . เกมส์             . ล๊อตเตอรี่
                . เพลง                             . ความรัก
๔.  ข้อใด จัดเป็นธัมมปฏิสันถาร ?
                . ต้อนรับตามฐานะ          . นำน้ำดื่มมาให้
                . ให้หนังสือธรรมะ          . ถามถึงธุระที่มา
๕. ผู้ถูกวิหิงสาวิตกครอบงำ มักมีพฤติกรรมเช่นไร ?
                . ฝักใฝ่ในกาม    . ปองร้ายผู้อื่น
                . โลภอยากได้    . ทรมานสัตว์
๕. ไฟในข้อใด ทำให้คนหลงผิดเห็นกงจักรเป็นดอกบัว
                . ไฟคือราคะ                  . ไฟคือโทสะ
                . ไฟคือโมหะ                . ไฟคือตัณหา
๖. การปกครองระบอบประชาธิปไตย สงเคราะห์เข้าในข้อใด ?
                . อัตตาธิปเตยยะ                . โลกาธิปเตยยะ
                . ธัมมาธิปเตยยะ               . อนาธิปเตยยะ
๗. ข้อใด ไม่จัดเป็นตัณหา ?
                ก. อยากมีบ้านใหม่             ข. อยากให้คนนับถือ
                ค. อยากอยู่คนเดียว             ง. อยากรักษาโรคร้าย
๘. ผู้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ซึ่งมาในรูปแบบต่างๆ เพราะ
                . เกิดความโลภ  . ขาดปัญญา
                . ข่มใจไว้ไม่ได้                 . เชื่อคนง่าย
. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
                ก. แสดงระเบียบปฏิบัติ ข. แสดงบุคคลาธิษฐาน
                ค. แสดงธรรมาธิษฐาน ง. แสดงอิทธิปาฏิหารย์
๑๐. ข้อใด ไม่ใช่โลกัตถจริยา ?
                ก. ตรวจดูสัตว์โลก               ข. โปรดเวไนยสัตว์
                ค. ตอบปัญหาเทวดา           ง. โปรดพุทธบิดา

วัดแก้วมงคล ปัญหาธรรมศึกษา

.  ผู้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีธรรมอะไร ?
                ก. ธรรมมีอุปการะมาก      ข. ธรรมอันทำให้งาม
                ค. ธรรมเป็นโลกบาล         ง. ธรรมเป็นเครื่องเจริญ
. ถ้าสติเปรียบเหมือนดวงไฟ สัมปชัญญะจะเปรียบเหมือนอะไร ?
                . ควันไฟ                          . แสงไฟ
                . คนจุดไฟ                       . เชื้อไฟ
.  คนมีโอตตัปปะมีลักษณะเช่นไร ?
                . กลัวถูกลงโทษ                . กลัวเสียชื่อเสียง
             . กลัวตกนรก                 . ถูกทุกข้อ
.  ความงามอะไร ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ?
                ก. งามเสื้อผ้าอาภรณ์          ข. งามรูปร่างหน้าตา
                ค. งามกิริยามารยาท           ง. งามคุณธรรม
. บุพพการี ชื่อว่าหาได้ยาก เพราะถูกอะไรครอบงำ ?
                . ความไม่รู้                     . ความตระหนี่
                . ความโกรธ                   . ตัณหา
. ที่เรียกว่าพระพุทธศาสนานั้น หมายถึงอะไร ? 
                . พระรัตนตรัย   . พระธรรมวินัย
                . ไตรสิกขา                    . พระปาติโมกข์
. คำสอนที่เป็นหลักการในพระพุทธศาสนา ตรงกับข้อใด ?
                . โอวาท ๓                       . สิกขา ๓
                . สุจริต ๓                        . ปิฎก ๓
. คำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเจ็บช้ำใจหรือบันดาลโทสะตรงกับข้อใด
                . คำเท็จ                           . คำหยาบ
                . คำส่อเสียด                    . คำเพ้อเจ้อ

กลอนหลวงพ่อพุทธทาส

เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง ฯ

กลอน ๘ วัดแก้วมงคล

กลอน ๘
แล้วสอนว่า  อย่าไว้  ใจมนุษย์    (วรรคที่หนึ่ง)
มันแสนสุด  ลึกล้ำ  เหลือกำหนด  (สัมผัส คำที่สาม มนุษย์ กับสุด)
ถึงเถาวัลย์  พันเกี่ยว  ที่เลี้ยวลด    (สัมผัสคำสุดท้ายวรรคสอง กับสุดท้ายวรรคสาม หนด กับลด)
ก็ไม่คด  เหมือนหนึ่งใน  น้ำใจคน   (คำสุดท้ายวรรคสาม กับคำที่สาม วรรคสี่)
ไม่เมาเหล้า  แล้วแต่เรา  ยังเมารัก
สุดจะหัก  ห้ามจิตร  คิดไฉน
ถึงเมาเหล้า  เช้าสาย  ก็หายไป
แต่เมาใจ  นี้ประจำ  ทุกค่ำคืน

ถึงบางพูด  พูดดี  เป็นศรีศักดิ์
มีคนรัก  รสถ้อย  อร่อยจิต
แม้นพูดชั่ว  ตัวตาย  ทำลายมิตร
จะชอบผิด  ในมนุษย์ เพราะพูดจา..
ถึงโรงเหล้า  เตากลั่น ควันโขมง
มีคันโพง  ผูกสาย  ไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรม  น้ำนรก เจียวอกเรา
ให้มัวเมา  เหมือนหนึ่งบ้า  เป็นน่าอาย.....

บุคคลที่เกิดวันอาทิตย์

บุคคลที่เกิดวันอาทิตย์ สีที่เป็นมงคล ควรเป็นสีชมพู สีโอโรส เพราะเป็นเดช อำนาจ และบารมี สีเขียวเป็นสีแห่งโชคลาภเงินทอง หรือสีดำ สีเทา สีควันบุหรี่เป็นสีของมนตรี มีคนคอยช่วยเหลือ ผู้ใหญ่สนับสนุนดี
* สีอื่นๆไม่ดีและไม่เสีย (ธรรมดา) สีที่ต้องห้าม คือ สีฟ้า สีน้ำเงิน (เป็นสีที่อัปมงคลตลอดชีวิต) เพราะเป็นสีที่เป็นกาลกินีของบุคคลที่เกิดวันอาทิตย์
นอกจากนี้แล้ว บุคคลที่เกิดวันวันอาทิตย์
* อายุย่าง 23
, 32 , 41 , 50 , 59 , 68และอายุ 77 ปีห้ามซื้อรถสีชมพู สีโอโรส เพราะเป็นสีที่โชคร้ายในช่วงอายุที่ย่างมาถึง
* สำหรับช่วงอายุย่าง 24
, 33 , 42 ,51 ,60 ,
และ 69 สีที่ห้ามซื้อคือสีเขียวทุกชนิด
* และช่วงอายุย่าง 18
, 27 , 36 ,45 ,54 ,
63 และ 72ปี สีที่ห้ามซื้อคือ สีดำ สีเทา สีควันบุหรี่ เพราะเป็นสีที่โชคร้าย ในช่วงอายุที่มาถึงเช่นกัน
* ถ้าไม่ใช่อายุจรที่ย่างมาถึงดังกล่าวข้างต้นก็สามารถเลือกซื้อสีที่เป็นมงคลได้ตลอด

งานปิดทองฝังลูกนิมิตวัดแก้วมงคล คาถาอิติปิโสแปดทิศ

คาถาอิติปิโสแปดทิศ ฯ ชื่อกระทู้เจ็ดแบก               ด้านบูรพา
ฯ ชื่อฝนแสนห่า                     ด้านอาคเนย์
ฯ ชื่อนารายณ์กลืนสมุทร      ด้านทักษิณ
ฯ ชื่อนารายณ์พลิกแผ่นดิน   ด้านหรดี
ฯ ชื่อตวาดหิมพาน                ด้านประจิม
ฯ ชื่อนารายณ์กลืนจักร         ด้านพายัพ
ฯ ชื่อนารายณ์แปลงรูป         ด้านอุดร
ฯ ชื่อนารายณ์ถอดรูป           ด้านอีสาน

งานปิดทองฝังลูกนิมิตวัดแก้วมงคล คำอารรธนาศีล ๕

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ    มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ  มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ                 (นะโม 3 จบ)
พุทธัง      สะระณัง   คัจฉามิ
ธัมมัง      สะระณัง   คัจฉามิ
สังฆัง      สะระณัง   คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง   สะระณัง   คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง   สะระณัง   คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง   สะระณัง   คัจฉามิ
ตะติยัมปิ                พุทธัง  สะระณัง   คัจฉามิ
ตะติยัมปิ                ธัมมัง  สะระณัง   คัจฉามิ
ตะติยัมปิ                สังฆัง  สะระณัง   คัจฉามิ
พระว่า       ติสะระณะคะมะนัง  นิฏฐิตัง          กล่าวรับว่า  อามะ  ภันเต
ปาณาติปาตา           เวระมณี   สิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ
อทินนาทานา   เวระมณี   สิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี  สิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ
มุสาวาทา   เวระมณี   สิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา   เวระมณี   สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
อิมานิ ปัญจะ  สิกขาปะทานิ  สมาทิยามิ
ลีเลนะ สุคะติง ยันติ                             ลีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ                             ตัสสะมา สีลัง วิโสธะเย

ยะถา วาริวะหา ปูรา                              ปะริปูเรนติ สาคะรัง
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง                           เปตานัง อุปะกัปปะติ
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง                          ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา                         จันโท ปัณณะระโส ยะถา
มะณิ โชติระโส ยะถา
สัพพีติโย วิวัชชันตุ                               สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย                         สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง                 วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ                        อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

งานปิดทองฝังลูกนิมิตวัดแก้วมงคล หลักอปริหานินธรรม ๗

หลักอปริหานิยธรรม ๗ คือ
- หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์                  - เมื่อประชุมก็พร้อมกันเข้าประชุม และพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม
- ไม่ทำลายหลักการเดิม                                        - เคารพผู้หลักผู้ใหญ่
- คุ้มครองกุลสตรี มิให้ถูกข่มเหง                        - เคารพ เจดีย์ อนุสาวรีย์คนสำคัญของชาติ
- ให้การคุ้มครองอารักขาสมณะชีพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในรัฐ(อํ. สตฺตก. ๒๓/๒๐/๑๘)
๔) หลักการใช้อธิปไตย พระพุทธเจ้าทรงนิยม ธรรมาธิปไตย คือ เอาหลักการเป็นใหญ่ มิใช่ อัตตาธิปไตย เอาตนเป็นใหญ่ หรือ โลกาธิปไตย เอาโลกหรือพวกพ้องเป็นใหญ่ ดังพระองค์แสดงไว้อย่างชัดเจน
"ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นมิใช่สภา"สัตบุรุษ คือ ผู้รู้จักเหตุผล-รู้จักคน รู้จักประมาณ-รู้จักกาล-รู้จักชุมชุม และรู้จักความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล จึงอาจกล่าวได้ว่า "พระธรรมวินัย ของพระพุทธเจ้าเป็นหลักการปกครองของพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ และเพื่อพระสงฆ์อันมีประโยชน์ ๑๐ อย่าง เป็นเป้าหมาย คือ
๑. เพื่อหมู่คณะยอมรับว่าดี                   ๒. เพื่อให้หมู่คณะมีความผาสุก
๓. เพื่อข่มคนชั่ว                                    ๔. เพื่อปกป้องคนดี
๕. เพื่อขจัดทุกข์ในปัจจุบัน                 ๖. เพื่อตัดทุกข์ในอนาคต
๗. เพื่อผู้ที่ยังไม่ศรัทธาได้มีความศรัทธา             ๘. เพื่อรักษาจิตของคนที่ศรัทธาอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม คือ พระพุทธศาสนา
๑๐. เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย คือ หลักการอันดีงาม ของการอยู่ร่วมกันโดยสันติ อย่างที่เรียกว่า "มีสันติสุขในส่วนตน และสันติภาพในส่วนรวม" ฉะนี้แล

งานปิดทองฝังลูกนิมิตวัดแก้วมงคล ชายทะเลกาหลง หลักประชาธิปไตย

หลักประชาธิปไตย
คำว่า "ประชาธิปไตย" หรือ "Democracy"เป็นคำที่ใช้มานานตั้งแต่สมัยกรีกโบราณรุ่งเรือง ซึ่งมุ่งแสดงถึงการปกครองที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการแสดงออก มีส่วนร่วมในการปกครองโดยเลือกผู้แทนเข้าไปนั่งในสภาบริหารและสภานิติบัญญัติ ผู้ให้คำนิยามแก่การปกครองแบบประชาธิปไตยที่กระชับและสั้น คือ ลิงคอล์น ที่ว่าประชาธิปไตย คือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชนหลักของประชาธิปไตย คือให้อำนาจแก่ประชาชน ทั้งทางนิติบัญญัติ บริหาร และด้านพิจารณาอรรถคดี ที่เรียกว่า ตุลาการ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวถึงหลักของประชาธิปไตยว่า มี ๕ หลักด้วยกันคือ
๑.) หลักเสรีภาพ (Liberty) ซึ่งต้องประกอบด้วย สิทธิ หน้าที่ อิสรภาพ และสมภาพ จะต้องอยู่ร่วมกัน
๒.) หลักความเสมอภาค (Equality) คือความเท่าเทียมกัน ในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐ
๓.) หลักเหตุผล (Rationality) การตัดสินความขัดแย้งด้วยเหตุผล
๔.) การตัดสินโดยเสียงข้างมาก (Majority) เสียงข้างน้อย ได้รับการคุ้มครอง (Majority rule, and minority right)
๕.) การผลัดเปลี่ยนกันหมุนเวียนดำรงตำแหน่ง (Rotation) ไม่ผูกขาดแต่คนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เพียงผู้เดียว.
แนวความคิดประชาธิปไตยในพระไตรปิฎก
๑. แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยแนวพระวินัยปิฎก
จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อเป็นแนวในการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ แต่การบัญญัติวินัยนั้นก็ทรงบัญญัติเป็นพระสงฆ์มิได้บัญญัติตามลำพัง ต้องให้เกิดเรื่องก่อน แล้วประชุมสอบสวนแล้วบัญญัติพระวินัยท่ามกลางพระสงฆ์ ด้วยความเห็นชอบของพระสงฆ์ต่างพร้อมใจกันนำไปปฏิบัติ การทำกรรมต่างๆ ของสงฆ์ ยกเว้นอปโลกนกรรม ล้วนให้ทำเป็นการสงฆ์ทั้งสิ้น กล่าวคือ
ญัตติกรรม-ทำด้วยสงฆ์จตุวรรค คือ ๔ รูปขึ้นไป เช่นการสวดปาติโมกข์
ญัตติทุติยกรรม-ทำด้วยสงฆ์ปัญจวรรคคือ ๕ รูปขึ้นไป เช่น เรื่องกฐิน
ญัตติจตุตถกรรม-ทำด้วยสงฆ์ ทสวรรค คือ ตั้งแต่ ๑๐ รูปขึ้นไปยกเว้นในที่กันดาร เช่นการอุปสมบท
การให้มานัตต์ การสวดอัพภาน ก็ต้องใช้สงฆ์ตั้งแต่ ๒๑ รูปขึ้นไป จึงกล่าวได้ว่า
พระวินัย คือ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ
พระสงฆ์ คือ สมาชิกสภาผู้แทน
คุณสมบัติของพระสงฆ์ คือ คุณสมบัติของสมาชิก
อำนาจพระสงฆ์ คือ อำนาจอธิปไตย
อธิกรณ์สงฆ์ทั้ง ๔ คือ
ก. วิวาทาธิกรณ์-การขัดแย้งกันเกี่ยวกับธรรมวินัย                             ข. อนุวาทาธิกรณ์-การโจทก์กันด้วยอาบัติต่างๆ
ค. อาปัตตาธิกรณ์-การละเมิดอาบัติต่างๆ                            ง. กิจจาธิกรณ์-กิจของสงฆ์ที่เกิดขึ้นที่จะพึงทำด้วยสงฆ์จำนวนต่างๆ
ต่างก็จะต้องระงับด้วยวิธีการที่เรียกว่า อธิกรณสมถะ ๗ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ระงับต่อหน้าสงฆ์ต่อหน้าบุคคลต่อหน้าวัตถุ
๒. สติวินัย การระงับด้วยการให้เกียรติแก่พระอรหันต์ ผู้มีสติสมบูรณ์
๓. อมูฬหกวินัย การระงับเหตุด้วยการยกเว้นให้แก่ผู้ทำผิดในขณะที่เป็นบ้า คือได้หลงไปแล้ว
๔. เยภุยยสิกา ระงับด้วยเสียงข้างมากลงมติ
๕. ปฏิญญาตกรณะ ระงับด้วยการทำตามปฏิญญา
๖. ตัสสปาปิยสิกากรรม ระงับด้วยการลงโทษศัตรูผู้ถูกสอบสวนแล้วพูดไม่อยู่กับร่องกับรอย ให้การรับแล้วปฏิเสธ ปฏิเสธแล้วรับเป็นต้น
๗. ติณวัตถารกวินัย ระงับด้วยการประนีประนอมทั้งสองฝ่าย ดุจเอาหญ้าทับสิ่งสกปรกไว้ไม่ให้มีกลิ่น
ทั้งอธิกรณ์และการระงับต้องทำเป็นการสงฆ์เป็นส่วนใหญ่ ดุจการตั้งกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ฉะนั้นจึงเป็นการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม

งานปิดทองฝังลูกนิมิตวัดแก้วมงคล ชายทะเลกาหลง กลอนความกตัญญู

    ความกตัญญูนั้นดีหนักหนา
จะนำพาชีวิดพบสุขสันต์
   งานเจริญก้าวหน้าทุกคืนวัน
  ด้วยเราหมั่นดูแลผู้มีคุณ
ทั้งปู่ย่าตายายและพ่อแม่
ยามท่านแก่คอยมอบรักอบอุ่น
กิจธุระสิ่งใดช่วยเจือจุน
กุศลบุญบันดาลให้รุ่งเรือง

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

งานปิดทองฝังลูกนิมิตวัดแก้วมงคล

ขอเชิญเที่ยวงานปิดทองฝังลูกนิมิต
เจ้าอาวาส คณะกรรมการ ร่วมจัดงาน