วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

งานปิดทองฝังลูกนิมิตวัดแก้วมงคล หลักอปริหานินธรรม ๗

หลักอปริหานิยธรรม ๗ คือ
- หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์                  - เมื่อประชุมก็พร้อมกันเข้าประชุม และพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม
- ไม่ทำลายหลักการเดิม                                        - เคารพผู้หลักผู้ใหญ่
- คุ้มครองกุลสตรี มิให้ถูกข่มเหง                        - เคารพ เจดีย์ อนุสาวรีย์คนสำคัญของชาติ
- ให้การคุ้มครองอารักขาสมณะชีพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในรัฐ(อํ. สตฺตก. ๒๓/๒๐/๑๘)
๔) หลักการใช้อธิปไตย พระพุทธเจ้าทรงนิยม ธรรมาธิปไตย คือ เอาหลักการเป็นใหญ่ มิใช่ อัตตาธิปไตย เอาตนเป็นใหญ่ หรือ โลกาธิปไตย เอาโลกหรือพวกพ้องเป็นใหญ่ ดังพระองค์แสดงไว้อย่างชัดเจน
"ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นมิใช่สภา"สัตบุรุษ คือ ผู้รู้จักเหตุผล-รู้จักคน รู้จักประมาณ-รู้จักกาล-รู้จักชุมชุม และรู้จักความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล จึงอาจกล่าวได้ว่า "พระธรรมวินัย ของพระพุทธเจ้าเป็นหลักการปกครองของพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ และเพื่อพระสงฆ์อันมีประโยชน์ ๑๐ อย่าง เป็นเป้าหมาย คือ
๑. เพื่อหมู่คณะยอมรับว่าดี                   ๒. เพื่อให้หมู่คณะมีความผาสุก
๓. เพื่อข่มคนชั่ว                                    ๔. เพื่อปกป้องคนดี
๕. เพื่อขจัดทุกข์ในปัจจุบัน                 ๖. เพื่อตัดทุกข์ในอนาคต
๗. เพื่อผู้ที่ยังไม่ศรัทธาได้มีความศรัทธา             ๘. เพื่อรักษาจิตของคนที่ศรัทธาอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม คือ พระพุทธศาสนา
๑๐. เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย คือ หลักการอันดีงาม ของการอยู่ร่วมกันโดยสันติ อย่างที่เรียกว่า "มีสันติสุขในส่วนตน และสันติภาพในส่วนรวม" ฉะนี้แล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น